รวบมาให้แล้วลดหย่อนภาษี ปี 2566 มีอะไรบ้าง

กำลังเช็กรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 อยู่ใช่มั้ย ? น้องสมหวังมีสรุปรายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง แล้วประกันลดหย่อนภาษีมีอะไรยังไงเท่าไหร่บ้าง เดี๋ยวมาเก็บข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีพร้อมกันเลย

กำลังเช็กรายการลดหย่อนภาษีปี 2566 อยู่ใช่มั้ย ? น้องสมหวังมีสรุปรายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง แล้วประกันลดหย่อนภาษีมีอะไรยังไงเท่าไหร่บ้าง เดี๋ยวมาเก็บข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีพร้อมกันเลย

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มาเริ่มดูกันก่อนครับว่า มีรายได้ต่อปีเท่าไหร่ถึงจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา บุคคลที่มีเงินได้สุทธิต่อปีไม่เกิน 150,000 บาทต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ามีรายได้มากกว่านี้ก็จะมีฐานภาษีที่แตกต่างกันตามลำดับครับ

รายการลดหย่อนภาษี ปี 2566 มีไรบ้าง

  • กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว, ค่าลดหย่อนบุตร, คู่สมรส, ค่าลดหย่อนภาษีดูแลผู้พิการ, ค่าอุปการะดูแลพ่อแม่
  • กลุ่มประกันและการลงทุน เช่น ประกันสังคม, ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ประกันอื่น ๆ รวมทั้งกองทุน
  • กลุ่มเงินบริจาค เช่น บริจาคพรรคการเมือง, บริจาคทั่วไป, การบริจาคผ่าน e-Donate
  • กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
  • กลุ่มอื่น ๆ เช่น โครงการช้อปดีมีคืน 2566 

1. กลุ่มลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

ถามว่าตรงนี้ลดหย่อนภาษียังไง ปกติแล้วจะได้รับค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวอยู่แล้วครับ ซึ่งลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลสูงสุด 60,000 บาท และถ้าใครมีครอบครัวก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ แบ่งออกเป็น ค่าลดหย่อนคู่สมรส สูงสุด 60,000 บาท และได้ค่าลดหย่อนภาษีลูกสูงสุด 30,000 บาทต่อคน จะมีบุตรกี่คนก็ได้ 

ขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดนึงนะครับ กรณีค่าอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่มีเงื่อนไขว่า พ่อแม่จะต้องอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งจะต้องออกหนังสือรับรองการเลี้ยงดู หรือเอกสาร ลย.03 ให้คนที่ขอลดหย่อนภาษีด้วยนะ ใครมีค่าลดหย่อนในรายการไหนก็สามารถจดเอาไว้แล้วแจ้งกับสรรพากรได้ครับ

2. ลดหย่อนภาษีประกันและการลงทุน

ทำความเข้าใจกลุ่มการลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัวครบแล้ว มาต่อกับประกันลดหย่อนภาษีกันครับผม ใด ๆ การลดหย่อนกลุ่มนี้อาจจะต้องแบ่งรายละเอียดตามสิ่งที่เราทำไว้ ซื้อไว้

เริ่มจากประกันลดหย่อนภาษีที่คนทำงานมีกันทุกคนนั้นก็คือ

  •  ประกันสังคมที่เราจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ช่วยลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 9,000 บาท
  • ส่วนพนักงานเงินเดือนใครที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่บางคนชอบ เรียกกันว่า PVD ก็จะได้ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท จะไม่เกิน 15% ของเงินได้ 
  • ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ จะช่วยลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ขณะที่ประกันสุขภาพเราซื้อให้ตัวเองครับ รวมค่าเบี้ยประกันภัยไม่เกิน 100,000 บาท จะลดหย่อนภาษีสูงสุด 25,000 บาท
  • ประกันสุขภาพให้พ่อกับแม่ ก็จะช่วยลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกิน 15,000 บาท 
  • ประกันบำนาญก็จะช่วยลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท ไม่เกิน 15% ของเงินได้ครับ หรือรวมค่าเบี้ยประกันภัยไม่เกิน 500,000 บาท

ขณะที่กองทุนการลงทุนต่าง ๆ ก็จะมีรายละเอียดต่างกัน เช่น

  • คนเป็นข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท (ไม่เกิน 15% ของเงินได้) ส่วนกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท (ไม่เกิน 15% ของเงินได้) 
  • ส่วนกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท (ไม่เกิน 30% ของเงินได้)
  • กองทุนเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาท (ไม่เกิน 30% ของเงินได้)
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท

ใหม่ล่าสุด ปี 2566 นี้มีค่าลดหย่อนกลุ่มการลงทุนเพิ่มเติมครับ

  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้ผู้ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งแต่ปี 2564 นำใช้ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท
  • กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) หุ้นไทย ตราสารหนี้ไทยที่เข้าหลักเกณฑ์ ESG ซื้อแล้วใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของรายได้ทั้งปี ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ ระยะเวลาลงทุน 8 ปีนับจากวันที่ซื้อ ไม่บังคับซื้อทุกปีด้วย จะบอกว่ากองทุนนี้แยกกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุ

อ่าน ๆ แล้วก็อาจจะสับสน จำอะไรไม่ได้ มาครับน้องสมหวังสรุปเป็นตารางลดหย่อนภาษีให้อีกครั้ง

สนใจประกันภัยเอาไว้ ลดหย่อนภาษี

และถ้าพี่ ๆ สนใจความคุ้มครองประกันเอาไว้ลดหย่อนภาษี น้องสมหวังมีแนะนำเช่นกันครับผม เช่น ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง ถ้าสนใจประกันภัยสามารถดูรายละเอียดได้ที่สมหวังกันภัย หรือโทรมาคุยรายละเอียดที่เบอร์ 02-123-4000 กด 3 ครับผม

3. กลุ่มเงินบริจาค

สำหรับรายละเอียดลดหย่อนภาษี กลุ่มการบริจาค มีดังนี้

  • พรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
  • บริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10 % ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาค เพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของยอดเงินบริจาค สำหรับพี่ที่สนใจหัวข้อนี้สามารถอ่านบทความ เงินบริจาคลดหย่อนภาษี 2566 เพิ่มเติมได้คร้าบ

อย่าลืมขอเอกสารไว้ด้วยจะได้มีไว้ยื่นแจ้งสรรพากรได้ครับ หรือถ้าบริจาคผ่าน e-Donate ก็สะดวกครับ เพราะเดี๋ยวนี้สามารถเช็กรายละเอียดเงินบริจาคลดหย่อนภาษีออนไลน์ได้แล้วด้วย

4. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์

กลุ่มลดหย่อนภาษีปี 2566 คือ ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาทครับ จะเป็นเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด อาคาร ตึกแถว ได้หมดซึ่งต้องเป็นบ้านที่เราอาศัยอยู่ ไม่ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ใช้หักลดหย่อนได้มากกว่า 1 แห่ง

เห็นว่าหลักฐานที่ต้องใช้ยื่นลดหย่อนภาษีจะต้องมีสำเนาสัญญากู้ยืมเงิน และก็หนังสือรับรองการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยด้วยนะ ใด ๆ คือ ถ้ามีคนกู้ร่วมก็หารตามนั้นเลย เป็นสิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยแบบนั้น จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท กรณีกู้ร่วมจะต้องหักลดหย่อนตามสัดส่วน

นี่ก็เป็นรายละเอียดที่น้องสมหวัง รวบมาให้แล้วลดหย่อนภาษี ปี 66 มีอะไรบ้าง หากมีอัปเดทรายละเอียดเพิ่มเติมน้องสมหวังจะรีบมาบอกทันทีเลยครับผม 

5.โครงการช้อปดีมีคืน

ค่าลดหย่อนภาษีประจำปี อย่างช้อปดีมีคืน 2566 สินค้าหรือบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (มีใบกำกับภาษี) จะคิดเป็นค่าลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท แบ่งเป็นรายละเอียด 30,000 บาทใช้ใบกำกับภาษีได้ทั้งแบบกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วน 10,000 บาท ใช้ใบกำกับภาษีเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยจะต้องเป็นการซื้อสินค้าช้อปดีมีคืนในช่วงต้นปีครับ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น

ยื่นภาษีที่ไหนได้บ้าง ?

  1. สะดวกยื่นที่สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกที่ทั่วไทย
  2. สะดวกยื่นออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th หรือจะยื่นผ่านแอปพลิเคชัน Rd smart tax application

ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นเรื่องราวของรายละเอียดลดหย่อนภาษีประจำปีที่ต้องทำเป็นประจำครับ หากสนใจสินเชื่อเงินด่วน สินเชื่อจำนำทะเบียนรถสมหวัง เงินสั่งได้ยินดีให้คำปรึกษา มีรถ มีเล่มทะเบียนก็สมัครสินเชื่อรถแลกเงินได้โทร  02-123-4000 หรือสมัครสินเชื่อจำนำทะเบียนรถออนไลน์ให้เราติดต่อกลับก็ได้เช่นกันครับ 

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร, Finnomena *ข้อมูลอัปเดทวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 

บทความที่พี่ ๆ น่าจะชอบ

Scroll to Top

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า