เป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วครับกับการใช้บัตรเครดิตใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสะดวก ทั้งการชำระค่าสินค้า ค่าอาหาร และค่าบริการต่าง ๆ แทนการใช้เงินสด ด้วยความที่บัตรเครดิตมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์มากมาย แต่อย่าลืมว่าทุกการรูดใช้จ่าย หากเราจ่ายไม่เต็ม ผ่อนจ่ายขั้นต่ำรายเดือน เราก็จะต้องเผชิญหน้ากับดอกเบี้ย!!! ดังนั้น เราควรทำความรู้จักวิธีการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากการใช้บัตรเครดิตด้วยครับ และถ้าเราชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผ่อนจ่ายขั้นต่ำ หรือกดเงินสดจากบัตรออกมาใช้ ก็จะมีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร ? ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดจากอะไร ? ไม่อยากโดนดอกเยอะ ดอกฉ่ำต้องทำอย่างไร ? รวมหนี้บัตรเครดิตหรือทำสินเชื่อปิดบัตรเครดิต ด้วยการใช้รถของเราจะช่วยได้ไหม ? ทุกคำถาม มีคำตอบเลื่อนลงมาอ่านได้เลย
เป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วครับกับการใช้บัตรเครดิตใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสะดวก ทั้งการชำระค่าสินค้า ค่าอาหาร และค่าบริการต่าง ๆ แทนการใช้เงินสด ด้วยความที่บัตรเครดิตมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์มากมาย แต่อย่าลืมว่าทุกการรูดใช้จ่าย หากเราจ่ายไม่เต็ม ผ่อนจ่ายขั้นต่ำรายเดือน เราก็จะต้องเผชิญหน้ากับดอกเบี้ย!!! ดังนั้น เราควรทำความรู้จักวิธีการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากการใช้บัตรเครดิตด้วยครับ และถ้าเราชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผ่อนจ่ายขั้นต่ำ หรือกดเงินสดจากบัตรออกมาใช้ ก็จะมีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร ? ดอกเบี้ยบัตรเครดิต เกิดจากอะไร ? ไม่อยากโดนดอกเยอะ ดอกฉ่ำต้องทำอย่างไร ? รวมหนี้บัตรเครดิตหรือทำสินเชื่อปิดบัตรเครดิต ด้วยการใช้รถของเราจะช่วยได้ไหม ? ทุกคำถาม มีคำตอบเลื่อนลงมาอ่านได้เลย
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คือ ค่าใช้จ่ายที่ผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องชำระเมื่อมียอดค้างชำระ ชำระขั้นต่ำ หรือไม่ชำระหนี้ในเต็มจำนวนภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือเมื่อมีการถอนเงินสดจากบัตรเครดิตครับ ดอกเบี้ยนี้จะถูกคิดเป็นร้อยละต่อปี (APR) และจะคำนวณจากยอดค้างชำระที่เหลืออยู่ แบบทบกันไปเรื่อย ๆ
และแน่นอนครับว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตมักจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่น ๆ ดังนั้น การจัดการการใช้งานบัตรเครดิตอย่างรอบคอบ ไม่ใช้จ่ายเกินความจำเป็น และชำระหนี้ให้ทันเวลา มีวินัยในการรูดบัตรเครดิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม อีกทั้งต้องระมัดระวังการรูดบัตร 0% ด้วยนะครับ เพราะถ้ารูดเยอะหลายยอดอาจจะผ่อนไม่ไหว และเจอกับดอกเบี้ยแบบดินพอกหางหมูเลยล่ะ
อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในไทย
อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในประเทศไทย จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารผู้ออกบัตรและประเภทของบัตรเครดิตครับ ซึ่งโดยทั่วไปอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูงสุดไม่เกิน 16% ต่อปี (Effective Rate) ** ซึ่งไม่รวมดอกเบี้ยค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หรือเบี้ยปรับทุกประเภทของบัตรเครดิต แต่ก็เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงครับ ขึ้นอยู่กับนโยบายและข้อเสนอของแต่ละธนาคารด้วยนะ
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
1. จ่ายตรงเวลา จ่ายขั้นต่ำ : ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นแม้จะจ่ายตรงเวลา แต่จ่ายเพียงยอดขั้นต่ำ ในกรณีนี้ดอกเบี้ยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนครับ คือ ดอกเบี้ยเงินต้น ของวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระเงิน 1 วัน และดอกเบี้ยค้างชำระ ของวันที่ชำระขั้นต่ำจนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป
พูดง่าย ๆ ก็คือ หากเราชำระเงินขั้นต่ำที่กำหนด เราจะไม่ถูกปรับจากการชำระเงินล่าช้า แต่ยอดที่เราไม่ได้ชำระนั้นจะยังคงอยู่ในบัญชีของเราและจะถูกคิดดอกเบี้ยครับ ดอกเบี้ยนี้จะคำนวณตามอัตราดอกเบี้ยประจำปี (APR) ของบัตรเครดิต และจะคิดเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระเงินจนกว่าจะชำระหนี้นั้นอย่างเต็มจำนวน และถ้าอยากทำความเข้าใจการจ่ายขั้นต่ำเพิ่มเติมสามารถอ่านบทความเตรียมตัว! จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ปรับจาก 5% เป็น 8% ในปี 67 น้องสมหวังเคยเขียนไว้แล้วครับพี่
2.จ่ายไม่ตรงเวลา จ่ายเต็มจำนวน : ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เกิดจากการจ่ายไม่ตรงเวลา แต่จ่ายเต็มจำนวนจะถูกคิดดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาที่ยอดหนี้นั้นค้างชำระ ตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระจนถึงวันที่เราได้ทำการชำระเงิน
โดยดอกเบี้ยนี้จะถูกคำนวณตามอัตราดอกเบี้ยประจำปี (APR) ของบัตรเครดิต และจะคิดเป็นรายวันจนกว่าจะมีการชำระหนี้เต็มจำนวน และเราจะต้องจ่ายค่าปรับสำหรับการชำระเงินล่าช้าด้วย ซึ่งจะถูกเรียกเก็บเพิ่มเติมจากดอกเบี้ยครับ
3.กดเงินสดจากวงเงินบัตรเครดิตมาใช้ : เมื่อมีการใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดจากตู้ ATM เราจะต้องชำระดอกเบี้ยทันทีที่ทำการถอนเงิน ซึ่งดอกเบี้ยสำหรับการถอนเงินสดมักจะสูงกว่าดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระ และมักจะไม่มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ซึ่งเท่ากับว่าเราจะต้องเสียถึงสองต่อ คือ เสียดอกเบี้ยนับจากวันที่รูด และเสียค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดประมาณ 3% ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอน
ถ้าพี่ ๆ คนไหนไม่อยากเสียดอกเบี้ยในระยะยาว น้องสมหวังแนะนำว่า จ่ายเต็มจำนวน ควรชำระเงินให้มากกว่ายอดขั้นต่ำ หลีกเลี่ยงการชำระเงินช้า เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มเติม
หรือพี่ ๆ คนไหนที่มีบัตรเครดิตหลายใบ ผ่อนจ่ายไม่หมด อยากจบวงจรหนี้ไม่อยากเสียดอกเบี้ยเยอะ ก็สามารถรวมหนี้บัตรเครดิตหรือที่เรียกว่าสินเชื่อปิดบัตรเครดิตก็ได้เช่นกันครับ โดยจะเป็นการรวมหนี้บัตรเครดิตทุกใบ แล้วย้ายมาเป็นยอดหนี้ก้อนเดียวกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเดียว เพื่อผ่อนเป็นรายเดือนในยอดผ่อนที่ถูกกว่าเดิม จะได้มีเวลาวางแผนให้ปลดหนี้ได้ไวขึ้นครับ เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ รวบหนี้ไว้ที่เดียวปรึกษาสมหวังได้นะ
วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต
มาถึงการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ ทั้งอัตราดอกเบี้ยประจำปี (APR) ของแต่ละธนาคาร, ยอดค้างชำระ และวิธีการคำนวณดอกเบี้ยที่ธนาคารใช้ โดยจะมีความแตกต่างกันดังนี้
1. กรณีจ่ายตรงเวลา แต่จ่ายขั้นต่ำ
อย่างที่น้องสมหวังได้บอกไปครับ ว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นแม้จะจ่ายตรงเวลา แต่จ่ายยอดขั้นต่ำ ในกรณีนี้ดอกเบี้ยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ดอกเบี้ยเงินต้น ของวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระเงิน 1 วัน
- ดอกเบี้ยค้างชำระ ของวันที่ชำระขั้นต่ำจนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป
วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินต้น
(ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยฯ ต่อปี X จำนวนวัน) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี
ตัวอย่าง
สมมติว่าอัตราดอกเบี้ยของพี่ๆ คือ 16% และยอดหนี้ค้างชำระคือ 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยรายวัน 16%/365 = 0.0438%
- ดอกเบี้ยรายวัน = 10,000×0.0438% = 4.38 บาท
- หากมี 30 วันในเดือนนั้น ดอกเบี้ยรายเดือน = 4.38×30 = 131.40 บาท
- เท่ากับว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ยจำนวน 131.40 บาทครับ (ประมาณการดอกเบี้ยที่ต้องเสีย)
2. กรณีจ่ายไม่ตรงเวลา แต่เต็มจำนวน
สำหรับกรณีนี้จะถูกคิดดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาที่ยอดหนี้นั้นค้างชำระ ตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระจนถึงวันที่เราได้ทำการชำระเงินครับ
วิธีคำนวณดอกเบี้ย
(ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ X อัตราดอกเบี้ยฯ ต่อปี X จำนวนวัน) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี
ตัวอย่าง
สมมติว่าดอกเบี้ยของพี่ๆ คือ 18% และชำระเงินล่าช้า 10 วัน
- ยอดหนี้ทั้งหมดของพี่ๆ คือ 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยรายวัน = 18%/365 = 0.0493%
- ดอกเบี้ยรายวัน = 10,000×0.0493% = 4.93 บาท
- ดอกเบี้ยสำหรับ 10 วัน = 4.93×10 = 49.30 บาท
- เท่ากับว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ยจำนวน 49.30 บาทครับ (ประมาณการดอกเบี้ยที่ต้องเสีย)
3. กรณีกดเงินสดจากวงเงินบัตรเครดิต
การคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตในกรณีที่กดเงินสดจากวงเงินบัตรเครดิต (Cash Advance) จะแตกต่างจากการชำระหนี้ปกติครับ และจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าด้วย
วิธีคำนวณดอกเบี้ย
(จำนวนเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า X อัตราดอกเบี้ยฯ ต่อปี X จำนวนวัน) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี
ตัวอย่าง
สมมติว่าดอกเบี้ยสำหรับการกดเงินสดคือ 23% และยอดเงินที่ถอนคือ 5,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยรายวัน = 23% / 365 = 0.063%
- ดอกเบี้ยรายวัน = 5,000×0.063% = 3.15 บาท
- หากมีการชำระเงินหลังจากกดเงินสด 30 วัน ดอกเบี้ยสะสม = 3.15×30 = 94.50 บาท
- เท่ากับว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ยจำนวน 94.50 บาทครับ (ประมาณการดอกเบี้ยที่ต้องเสีย)
อยากรวมหนี้บัตรเครดิต ต้องทำยังไง ?
วิธีการรวมหนี้บัตรเครดิตเป็นก้อนเดียวนั้นง่าย ๆ ครับ เพียงมีรถ มีเล่มทะเบียนรถก็เปลี่ยนรถเป็นเงินก้อนปิดหนี้บัตรได้ ด้วยการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวด้วยสินเชื่อรถ กับสมหวัง เงินสั่งได้ ปรึกษาเจ้าหน้าที่สมหวัง เงินสั่งได้ ได้ง่าย ๆ เลือกได้ตามสะดวก 5 ช่องทาง ได้แก่
- ทักแชทเฟซบุ๊กสมหวัง เงินสั่งได้
- ทักไลน์สมหวัง เงินสั่งได้ (@somwang) พิมพ์คำว่า ‘ติดต่อเจ้าหน้าที่’
- กรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ให้เจ้าหน้าที่สมหวัง เงินสั่งได้ ติดต่อกลับ
- โทรสอบถามข้อมูลเบอร์ 02-123-4000
มาที่สาขาสมหวัง เงินสั่งได้ ใกล้บ้านก็ได้ครับ สมหวังยินดีดูแลพี่ ๆ ทุกคนครับผม
สรุปบทความ
เอาเป็นว่า บัตรเครดิตไม่ใช่ผู้ร้ายเพียงแต่เราจะต้องใช้จ่ายให้เป็นครับ เช่น รูดบัตรเสร็จก็เก็บเงินไว้จ่าย อย่าให้เงินอนาคตมาทำให้เราต้องเครียดและติดอยู่ในวังวนหนี้สิน หากใช้งานอย่างมีสติและวินัยบัตรเดรดิตก็มีประโยชน์มาก ๆ เลยล่ะ และอย่างที่น้องสมหวังได้บอกไปแล้วว่า ถ้าหากพี่ ๆ ที่เจอปัญหาผ่อนจ่ายไม่ไหว จ่ายขั้นต่ำมาตลอดอยากปลดหนี้แล้ว ไม่อยากเสียดอกเบี้ยในระยะยาว ปรึกษาวิธีการรวมหนี้บัตรเครดิตเป็นก้อนเดียวด้วยสินเชื่อรถได้ครับ และหลังจากได้เงินก้อนไปก็จะต้องลด ละ เลิก การรูดบัตรโดยไม่จำเป็นด้วยนะครับ สนใจเงินด่วนรถแลกเงินโทรสอบถามได้ที่ เบอร์ 02-123-4000 หรือแวะมาที่สาขา สมหวัง เงินสั่งได้ใกล้บ้านคุยสอบถามรายละเอียดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถตั้งแต่ 2-22 ล้อ เราก็รับแลกเงิน สมหวัง เงินสั่งได้ พร้อมคลายทุกข์ทุกปัญหาคนร้อนเงินครับ