อาชีพอิสระทำประกันสังคมได้ไหม

อาชีพอิสระ ทำประกันสังคม มาตรา 40 ได้ครับ 

สวัสดีครับ สำหรับพี่ ๆ ที่มีคำถามว่า “อาชีพอิสระ ทำประกันสังคมได้ไหม” เช่น อาชีพค้าขายเป็นพ่อค้าแม่ค้าแบบมีหน้าร้าน หรือขายออนไลน์ ฟรีแลนซ์ ขับวินมอเตอร์ไซค์ เกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน หรือพ่อบ้าน แม่บ้าน ฯลฯ กำลังมองหาหลักประกันให้กับชีวิต และสงสัยว่า ถ้าเราทำงานอิสระ ไม่มีเงินเดือนประจำ ไม่มีสลิปเงินเดือน ไม่ได้ทำงานในบริษัท แต่อยากทำประกันสังคมจะสามารถทำได้หรือไม่ ? บอกเลยว่า ทำได้ครับพี่

ข้อดีของการจำนำรถไม่โอนเล่มและแบบโอนเล่ม

อาชีพอิสระ ทำประกันสังคมได้ครับ

ตอบตรงนี้ว่า “ทำได้ครับ อาชีพอิสระสามารถทำประกันสังคม มาตรา 40 ได้ หรือที่เรียกว่าผู้ประกันตนนอกระบบนั้นเอง” และเพื่อไม่ให้เสียเวลา น้องสมหวังได้ทำการค้นหาข้อมูลรายละเอียดอาชีพอิสระที่อยากทำประกันสังคมมาให้พี่ ๆ แล้วครับ

ข้อดีของการจำนำรถไม่โอนเล่มและแบบโอนเล่ม

ประกันสังคม มาตรา 40 คืออะไร?

ประกันสังคม มาตรา 40 หรือ ประกันสังคม ม.40 คือ ความคุ้มครองของบุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้สังกัดเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 ครับ

ข้อดีของการจำนำรถไม่โอนเล่มและแบบโอนเล่ม

สนใจสมัครประกันสังคม ม.40 ต้องทำยังไง

การสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะสมัครยังไงได้บ้าง แนะนำ 2 ช่องทางตามนี้ครับ

  • สะดวกเดินทาง แนะนำพกบัตรประชาชนไปที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข หรือไปร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิส ฟรีค่าธรรมเนียมในการสมัครครับ

  • สะดวกสมัครออนไลน์ ด้วยสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้ก็สามารถสมัครขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคมได้ครับที่ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เว็บไซต์ประกันสังคม ซึ่งจะต้องเตรียมบัตรประชาชนเอาไว้กรอกข้อมูล เลขประจำตัวประชาชน, เลขหลังบัตรประชาชน รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่ระบบร้องขอครับ

และที่สำคัญ คือ ประกันสังคม มาตรา 40 สมัครได้ทันที ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ดังนั้น พี่ ๆ ไม่ต้องเครียดครับผมว่าจะต้องไปตรวจสุขภาพให้เสียเวลาทำมาหากินครับผม

ข้อดีของการจำนำรถไม่โอนเล่มและแบบโอนเล่ม

อาชีพอิสระ ทำประกันสังคม มาตรา 40 จ่ายเดือนเท่าไหร่ ? 

รายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนก็ไม่หนักเกินไปครับ สามารถเลือกจ่ายได้ตามงบที่จ่ายไหวมี 3  ทางเลือก และมีสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครองตามนี้ครับผม 

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเดือนละ 70 บาท 

  • ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย  300 บาท/วัน (เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดไม่เกิน 30 วัน)
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ (ไม่เกิน 15 ปี) 500 - 1,000 บาท/เดือน
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (รับเพิ่ม 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต)

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเดือนละ 100 บาท 

  • ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย  300 บาท/วัน (เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดไม่เกิน 30 วัน)
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ (ไม่เกิน 15 ปี) 500 - 1,000 บาท/เดือน
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (รับเพิ่ม 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต)
  • บำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน)

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเดือนละ 300 บาท 

  • ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย  300 บาท/วัน (เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุดไม่เกิน 30 วัน)
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ (ไม่เกิน 15 ปี) 500 - 1,000 บาท/เดือน
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท ตรงนี้จะแตกต่างจากทางเลือกอื่น ๆ ครับ
  • บำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน (ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน จ่ายครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท)
  • สงเคราะห์บุตร 200 บาท/เดือน (คราวละไม่เกิน 2 คน)

หรือถ้าอ่านแล้วยังสับสน เปรียบเทียบไม่ถูก น้องสมหวังขออนุญาตหยิบภาพประกอบจากสำนักงานประกันสังคมมาบอกเล่านะครับ

บทความล่าสุด

ติดต่อเรา

สมหวัง เงินสั่งได้
บริษัท ไฮเวย์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)
2046/16 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์ : 02-3087555

ติดตามข้อมูลข่าวสาร ได้ที่

อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการ การยินยอมเปิดเผยข้อมูล
ช่องทางการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์
© สงวนลิขสิทธิ์ 2562 บริษัท ไฮเวย์ จำกัด